Last updated: 26 ธ.ค. 2566 | 357 จำนวนผู้เข้าชม |
บาร์โคด
บาร์โคด หรือ รหัสแท่ง ประกอบด้วยเส้นมืดสีดำ หรือเส้นสว่างสีขาว วางเรียงกันเป็นแนวดิ่ง เป็นรหัสแทนตัวเลขและตัวอักษร เพื่ออำนวยความสะดวกให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถอ่านรหัสข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โคด ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็วและช่วยลดความผิดพลาดในการคีย์ข้อมูลได้มาก
บาร์โคดถูกอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์ บันทึกข้อมูลเข้าไปเก็บในระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องกดปุ่มที่แท่นพิมพ์ ทำให้มีความสะดวก รวดเร็วในการทำงานรวมถึงอ่านข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ ทำให้ระบบบาร์โคดเข้าไปมีบทบาทในทุกส่วนของอุตสาหกรรมการค้าขายและการบริการที่ต้องใช้การบริหารจัดการฐานข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์ และมีกระประยุกต์การใช้งานบาร์โคดเข้ากับการใช้งานของระบบโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน ทำให้สามารถพกพาไปได้ทุกที่ สะดวก เพื่อทำการจัดเก็บข้อมูล แสดงผล ตรวจสอบ และประมวลผลในด้านอื่นๆ
ประเภทของบาร์โคด
1.1D Barcode
บาร์โคดหนึ่งมิติ คือ บาร์โคดที่มีลักษณะการแทนข้อมูลที่เป็นตัวเลขเท่านั้น โดยความหนาของแท่งสีดำกับแท่งสีขาวในบาร์โคดจะเป็นตัวบ่งชี้ไปยังข้อมูลตัวเลขที่กำกับไว้ด้านล่างของบาร์โคด เครื่องอ่านบาร์โคดที่เหมาะสำหรับการอ่านบาร์โคดหนึ่งมิติ คือ Laser และ Linear
การนำบาร์โคดหนึ่งมิติไปใช้คือการนำข้อมูลตัวเลขในบาร์โคดบ่งชี้ไปยังข้อมูลของสินค้าตัวนั้นๆ เช่น บาร์โคดรหัส 01 ใช้แทนสินค้า A , บาร์โคดรหัส 02 ใช้แทนสินค้า B เป็นต้น
บาร์โคดหนึ่งมิติ มีลักษณะเป็นแถบประกอบด้วยเส้นสีดำสลับกับเส้นสีขาว ใช้แทนรหัสตัวเลขโดยสามารถบรรจุข้อมูลได้ประมาณ 20 ตัวเลข บาร์โคดหนึ่งมิติสามารถอ่านตามแนวยาว โดยเริ่มอ่านจากระยะห่างและความหนาของแท่ง ซึ่งความยาวของโคดนั้นจะเท่ากับความยาวของข้อมูล เช่น ถ้าตัวเลข20ตัวอาจจะต้องใช้ความยาวมากกว่า10ซม. และเมื่อบาร์โคดมีความยาวมากโอกาสที่จะอ่านผิดพลาดก็มีมากเช่นกัน เพราะครื่องอ่านบาร์โคดอาจจะรับข้อมูลได้ไม่หมด
2.2D Barcode
บาร์โคดสองมิติ คือ บาร์โคดที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้พื้นฐานเดียวกันกับบาร์โคดหนึ่งมิติ แต่บาร์โคดสองมิติจะสามารถบ่งชี้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรได้ และบาร์โคดสองมิติจะสามารถจุข้อมูลได้มากกว่าบาร์โคดหนึ่งมิติ ในพื้นที่เท่ากันหรือเล็กกว่า ข้อมูลที่บาร์โคดสองมิติสามารถบรรจุได้ มีหลากหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน และภาษาเกาหลี เป็นต้น
บาร์โคดสองมิติมีความสามารถคือ สามารถถอดรหัสได้แม้ภาพบาร์โคดจะเสียหายบางส่วน โดยอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและถอดรหัสบาร์โคดสองมิติมีตั้งแต่เครื่องอ่านแบบซีซีดีหรือเครื่องอ่านแบบเลเซอร์รวมไปถึงโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน กล้องถ่ายรูปได้มีการติดตั้งโปรแกรมถอดรหัสไว้
ลักษณะของบาร์โคดสองมิติมีหลากหลายตามการใช้งานของบาร์โคด เช่น วงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยรูปแบบของบาร์โคดสองมิติที่นิยมใช้โดยทั่วไปคือ QR-Code โดยเครื่องอ่านบาร์โคดที่เหมาะสำหรับการอ่านบาร์โคดสองมิติ คือ Array Imager
29 มี.ค. 2567
24 เม.ย 2567
23 เม.ย 2567