Last updated: 26 ธ.ค. 2566 | 5591 จำนวนผู้เข้าชม |
การรีแพ็คกิ้ง หรือการรีแพ็คสินค้า หรือการบรรจุใหม่ จริงๆมีหลากหลายความหมาย ซึ่งในแต่ละความหมายมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป โดยสรุปออกมาให้เข้าใจง่ายๆได้4อย่างที่นิยมกันก็คือ
1.การแพ็คสินค้าลงกล่องหรือบรรจุภัณฑ์ เมื่อลูกค้าทำการผลิตสินค้ากับทางโรงงานออกมา เมื่อต้องการนำออกจำหน่าย จำเป็นต้องมีแพ็คเกจจิ้ง เพื่อให้สินค้านั้นมีความน่าสนใจ เพิ่มมูลค่า แต่การจะทำด้วยตัวเองนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและวุ่นวาย มีต้นทุนหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น ค่าอุปกรณ์ ค่าแรงงาน อีกทั้งยังไม่มีประสบการณ์ในการทำ มีความเสี่ยงที่บรรจุภัณฑ์จะออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องใช้บริการการรีแพ็คสินค้า
2.การแพ็คสินค้าเป็นกิ๊ฟเซ็ท ในบางครั้งที่ต้องการจัดเซ็ทโปรโมชั่นขายสินค้าแบบแพ็ค 2ชิ้นหรือ3ชิ้น หรืออยากแถมสินค้าเพื่อตอบแทนลูกค้า จำเป็นต้องรีแพ็คสินค้า โดยการจับสินค้าที่ต้องการมาแพ็คด้วยกัน เพื่อความสะดวกต่อการขาย หรือการซื้อของลูกค้า
3.การแพ็คสินค้าตัวอย่าง ในกรณีที่ออกสินค้าใหม่ ต้องการแจกสินค้าให้ลูกค้าได้ทดลองใช้หรือทดลองชิมที่ไม่ใช่ขนาดปกติ จึงจำเป็นต้องรีแพ็คสินค้าในบรรจุภัณฑ์รูปแบบพิเศษขนาดทดลอง โดยอาจแพ็คสินค้าในขนาดที่สำหรับการใช้หรือรับประทาน1ครั้ง เพื่อให้ลูกค้าได้พิจารณาการซื้อยอดในอนาคตได้ง่ายขึ้น
4.การแพ็คสินค้าแบบเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ จัดทำเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายรูปแบบ เช่น
-การแพ็คสินค้าแบบเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันความเสียหายของสินค้า การผลิตสินค้ากับโรงงานในบางครั้งโรงงานนำผลิตภัณฑ์ใส่รวมกันในกล่องลังขนาดใหญ่กล่องเดียว เนื่องด้วยความสะดวกต่อการขนส่ง จึงอาจทำให้สินค้าได้รับความเสียหายได้ จึงควรใช้บริการการรีแพ็คสินค้า โดยบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม มีการห่อหุ้มด้วยบับเบิ้ลกันกระแทก และติดสติ๊กเกอร์
-การแพ็คสินค้าแบบเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งที่สะดวกยิ่งขึ้น เมื่อต้องการส่งสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ไปยังต่างประเทศ หากต้องจัดส่งกล่องขนาดเล็กจำนวนมากมีโอกาสที่สินค้าอาจจะสูญหายหรืออาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากยิ่งขึ้น จึงควรใช้บริการการรีแพ็คสินค้าโดยการนำสินค้าที่ลูกค้ามีรวมกันในบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ขึ้น
สินค้าแบบไหนที่นิยมรีแพ็ค
สินค้าที่ได้รับความนิยมในการนำมารีแพ็คส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทของกินและของใช้ เนื่องด้วยความต้องการของลูกค้านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สินค้าบางประเภทในขณะเวลาหนึ่งเป็นกระแสได้รับความนิยมในเวลาต่อมากระแสอาจลดน้อยลง จึงต้องมีการปรับเปลี่ยน ทำการตลาดเพิ่มขึ้น จัดโปรโมชั่นดึงดูดความสนใจลูกค้า การรีแพ็คสินค้าจึงเป็นบริการที่ตอบโจทย์มากที่สุด ตัวอย่างเช่น อาหารเสริมและเครื่องสำอาง ที่มีการเกิดขึ้นใหม่ในทุกวันทำให้ต้องจัดโปรโมชั่นต่างๆ หรือการนำสินค้าที่ต้องใช้คู่กันมาจับคู่เพื่อจำหน่ายพร้อมกัน เช่น แชมพูกับครีมนวดผม ผงซักฟอกกับน้ำยาปรับผ้านุ่ม แปลงสีฟันกับยาสีฟัน หรือการนำสินค้ารีแพ็คใหม่ในขนาดทดลอง เช่น ชารสชาติใหม่ กาแฟสูตรใหม่ ครีมบำรุงผิวหน้าโฉมใหม่ เป็นต้น
29 มี.ค. 2567
23 เม.ย 2567
24 เม.ย 2567